วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Emerging Technology

Emerging Technology (Tablet)

ผู้เขียน นายกฤตพล  ประพันธ์ ,
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา 
มหาวิทยาลัยขอนแก่น


          ปัจจุบันเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นสำหรับมนุษย์  มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านต่าง ๆ มากมายเช่น มีการนำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรม ด้าน การจัดการข้อมูล  รวมถึงการนำมาใช้ในทางการศึกษา  จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมการเรียนรู้โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน   ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ แท็บเล็ต ซึ่งรัฐบาลทุ่มงบประมาณหลายพันล้านบาทเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนไทยได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเรียนการสอนดังนั้นเรามาเรียนรู้กันว่าเทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่ซื่อว่า Tablet นี้คืออะไรและมีคุณสมบัติอย่างไร 
                       Tablet Personal Computer  หรือที่เรียกกันอย่างติดหูว่า (Tablet PC)  คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงาน ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่จะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่จะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน Tablet PC จะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน มีระบบปฏิบัติการ ต่าง ๆ
               บางท่านอาจยังไม่ทราบถึงระบบปฏิบัติการและความสามารถต่างของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในแต่ละค่าย ดังนั้นเราจะมาชี้แจงให้เห็นถึงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบปฏิบัติของในแต่ละค่ายดังนี้



 เริ่มต้นจากระบบปฏิบัติ iOS การจากค่าย Apple ซึ่งแท็บเล็ตที่ใช้อยู่ก็คือ iPad นั่นเอง และถ้าให้พูดถึงจุดเด่นของ iOS แล้ว คงจะเป็นที่ประสิทธิภาพในการทำงานกับฮาร์ดแวร์ และจัดการหน่วยความจำที่ดีถ้าเทียบกับแท็บเล็ทอื่นที่มีหน่วยความจำ และหน่วยประมวลผลกลางเท่ากันแล้ว iOS ยังมีการทำงานที่ดีกว่าส่วนข้อด้อยเป็นระบบปฏิบัติการตัวเดียวที่ไม่รองรับ Flash (ไม่สามารถแสดงผลได้) และการเชื่อมต่อที่ต้องทำผ่านซอฟท์แวร์ iTune เท่านั้น
                Android ระบบปฏิบัติการจากค่าย Google  เดิมทีทาง Google ได้พัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับมือถือสมาร์ทโฟนซึ่งก็มีบางค่ายได้นำไปปรับปรุงแล้วใส่ในแท็บเล็ต ตัวอย่างเช่น Samsung Galaxy Tab รุ่นแรกโดยตัวระบบปฏิบัติการที่ใช้นั่นจะเป็น Android Froyo ต่อมาทาง Google ถึงได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่นใหม่ให้รองรับแท็บเล็ตที่มีหน้าจอขนาดใหญ่กว่ามือถือสมาร์ทโฟนโดยตั้งชื่อมันว่า Honeycomb
               Windows ระบบปฏิบัติการจากค่าย Microsoft หลายคนอาจจะชินและคุ้นเคยกับการใช้งาน Windows เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยิ่งหน้าจอเป็นแบบสัมผัสอีกด้วยก็ช่วยให้แท็บเล็ตน่าใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามตัว Windows 7 นั้นยังคงไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้สำหรับแท็บเล็ต บางส่วนจึงอาจจะเล็กเกินไปที่จะใช้นิ้วสัมผัสได้ นอกจากนี้ระยะเวลาการใช้งานก็ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ iOS, Android และ BlackBerry Tablet OS
                   BlackBerry Tablet OS ระบบปฏิบัติการจากค่าย RIM เจ้าของมือถือสมาร์ทโฟน BlackBerry หรือ “BB” นั่นเอง โดยระบบปฏิบัติการตัวนี้จะพัฒนามาสำหรับ PlayBook โดยเฉพาะ การทำงานโดยรวมก็ถือได้ว่าลื่นไหลไม่แพ้ iOS นอกจากนี้ยังออกแบบการใช้งานโดยวิธีการสัมผัสต่างๆช่วยให้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น จุดเด่นอีกอย่างก็คือการทำงานของ Multitasking หรือเปิดแอพพลิเคชั่นหลายตัวพร้อมกันสามารถทำได้ดีกว่าระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ หรือเทียบเท่า Windows ได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม PlayBook จำเป็นจะต้องมีมือถือ BlackBerry ถึงจะสามารถใช้งานส่วน เช็คอีเมลล์, รายชื่อ,       ปฏิทิน, BBM ได้ และยังไม่รองรับภาษาไทยอีกด้วย

            เราได้ทราบถึงระบบปฏิบัติการจากค่ายต่าง ๆ ไปแล้วเราจะมาศึกษาถึงข้อดีข้อเสียจากการใช้ Tablet PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลดังต่อไปนี้


ข้อดีคือ
- ทำให้เด็กไทยรุ่นใหม่ได้ก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น
และได้เรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยเพราะเมื่อแก่ตัวไปก็จะสายเกินกว่าจะเรียนรู้แล้ว
- เมื่อมีการนำหลักสูตรและตำราเรียนต่างๆมาใส่ไว้ใน Tablet ก็สามารถปรับปรุง
และพัฒนาหลักสูตรให้เด็กได้เรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆนอกเหนือจากในตำราเรียน
- เป็นการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้แก่เด็กเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน และการประกอบอาชีพในอนาคต
- ช่วยกระตุ้นให้ครูที่หมดไฟทั้งหลาย เริ่มมองดูตัวเองให้มากขึ้น


ข้อเสียคือ
- ข้อเสียที่สำคัญและเห็นได้ชัด คือ เมื่อเด็กใช้ Tablet ไปนานๆ มองหน้าจอนานๆก็จะส่งผลระยะยาวกับสายตาของเด็กคือ ทำให้สายตาเสียตั้งแต่อายุยังน้อยและอาจส่งผลไปในระยะยาว
- เด็กในวัยนี้ถือว่ายังมีวุฒิภาวะที่ไม่เพียงพอที่จะดูแลรักษาของเหล่านี้ได้ อาจทำหายหรือเกิดความชำรุดเสียหายได้ และทำให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
- ปัญหาการติดเกมส์ เด็กไว้นี้อาจจะนำไปใช้ในทางที่ผิดคือนำไปเล่นเกมส์และนำไปเปิดเว็บที่ไม่เหมาะสม
- ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในประเทศไทยของเรายังไม่มีการปล่อย wifi ในทั่วประเทศ เมื่อรัฐบาลจะแจกให้กับเด็กทั่วประเทศ ก็จะไม่มีการออนไลน์ก็เหมือนกับเด็กได้เรียนรู้เท่าเดิม คือแค่ได้เรียนในตำราเรียนที่ย่อลงไปใน Tablet ไม่ได้มีความรู้เพิ่มเติมจากโลกออนไลน์เลย





Tablet กับการประยุกต์ใช้ในการศึกษาไทย

ในยุคปัจจุบัน ?


           ในอดีตการเรียนการสอนใช้ครูเป็นศูนย์กลางในทุกๆด้าน ครูเป็นผู้ให้ความรู้ส่วนนักเรียนเป็นผู้รับความรู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนแบบเดิมนั้นทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนเนื่องจากบรรยากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียน นักเรียนไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียน  ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากนักเรียนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือตอบโต้กับครูผู้สอนได้ซึ่งเรามักจะเห็นจากบทความต่างๆ ซึ่งมีการกล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับการเรียนและผลกระทบของการเรียนในอดีตดังตัวอย่างบทความต่อไปนี้ 

ปัญหาการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กไม่มีความสุขในการเรียน
ถูกถ่ายทอดออกมาหลายเรื่อง เช่น สภาพการเรียนการสอนที่น่าเบื่อหน่าย
คุณครูใจร้ายที่ไม่เข้าใจเด็กเฆี่ยนตีและดุเด็ก คุณครูที่ไม่ค่อยมาสอน คุณครูที่สั่งการบ้านมากเกินไปจนเด็กต้องทำงานดึก หรือคุณครูขี้เมาที่มีกลิ่นสุราติดตัวเข้ามาสอน ในทางกลับกันเด็กๆอยากให้คุณครูรักและเข้าใจพวกเขามากขึ้นไม่ดุพวกเขาและไม่ทำโทษพวกเขา (จากสาเหตุที่เขายังเด็กเขายังไม่รู้)
อยากให้คุณครูใจดีกับพวกเขา มีเทคนิคการสอนที่สนุกและอยากมีสภาพห้องเรียนที่พวกเขาเรียกว่าห้องเรียนในฝันเป็นห้องเรียนที่มีแต่ความสุขในการเรียนรู้

จากบทความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงทรรศคติของ
 นักเรียนที่ต้องการครูที่มีเทคนิคการสอนที่สนุก
 และต้องการห้องเรียนที่มีความสุขในการเรียนรู้ ซึ่ง
 สอดคล้องถึงการเรียนการสอนในปัจจุบันที่มีการ         
 นำเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพและเกิดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี อีกทั้งยังทำให้เด็กมีความสนใจในการเรียน ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  มีการตอบสนองของพัฒนาการทางด้านการฟัง  การอ่าน การแลกเปลี่ยนทางความคิดเห็น  อีกทั้งเด็กยังมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธีระภัทร ประสมสุขและคณะ.(2555). ที่กล่าวไว้ว่า

นักเรียนทันเทคโนโลยีใหม่ๆ มีทักษะด้าน IT มากขึ้น สามารถ สืบค้นหาข้อมูลที่ตัวเองอยากรู้ได้อย่างกว้างขวางและ สามารถนำเสนอข่าวสารข้อมูลใหม่  และแลกเปลี่ยน ความคิดระหว่างกันและกันได้  มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่คล่อง ได้ฝึกฟัง เนื้อหาในแท็บเล็ตพีซีบ่อยๆ ก็ทำให้จดจำ เนื้อหาได้มากขึ้น สามารถตอบคำถามในบทเรียนได้ดีขึ้น  กล้าแสดงออกด้านความคิดใหม่ โดยมีข้อมูลมายืนยัน จากการสืบค้นของนักเรียน มีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้ ด้วยตนเองได้มากขึ้นและ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ” 


อ้างอิงจาก
                ธีระภัทร ประสมสุขและคณะ.(2555).รูปแบบการใช้แท็บเล็ตพี ซีเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียน ในโรงเรียนขนาดเล็ก.กรุงเทพฯ : ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.    
                http://www.academia.edu/เปิดประสบการณ์การชั้นเรียนแท็บเล็ตฉบับเด็กไทย                                        
                http://www.tabletd.com/articles/289
                http://th.wikipedia.org/wiki/แท็บเล็ตคอมพิมเตอร์