วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความเป็นมาวิวัฒนาการและคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต




ความเป็นมาวิวัฒนาการและคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต
ผู้เขียน
นายกฤตพล  ประพันธ์ 
นางสาวณัฐธิดา ตาลอำไพ
นางสาวเพชราภรณ์  เฮมกลาง
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา 
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น




ประวัติความเป็นมาของ INTERNET 

- อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

- ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง

และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น

                                              

- ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง

- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น

- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน


ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย

           การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ 
เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงาน
      ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่ 
            - กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
            - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            - สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
            - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
      ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
           - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
           - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
           - มหาวิทยาลัยมหิดล
           - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
           - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
           - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
           - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
           - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
           - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คุณสมบัติของ INTERNET

1. ด้านธุรกิจการค้า


ปัจจุบันมีการให้บริการ โฆษณาสินค้าบริการและการซื้อขายสินค้าบริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าE-Commerce ซึ่งระบบนี้ผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ แล้วทำการสั่งซื้อ พร้อมทั้งชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยหักจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตได้ทันที นอกจากนี้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ก็สามารถเปิดให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และประกาศข่าวสารใหม่ๆ หรือกรณีที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ก็อาจแจกจ่ายโปรแกรมให้ทดลองใช้ หรือให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ (patch) แม้กระทั่งซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้โดยตรงอีกด้วย

2. ด้านการเงินการธนาคาร
   
ธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) หมายถึง ธนาคารที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบางธนาคารก็มีบริการที่มีชื่อคล้ายคลึงกันแต่ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Banking หรือ E-Bankingซึ่งหมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยสื่อที่นิยมใช้ได้แก่อินเทอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าบริการทั้งสองรูปแบบต่างก็มีการให้บริการต่างๆ ของธนาคารที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบยอดบัญชี การโอนเงิน การสั่งชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น


3. ด้านความบันเทิง

 สิ่งที่ดึงดูดใจแก่ผู้งานอินเทอร์เน็ตทุกเพศ ทุกวัย มากที่สุด ก็คือ ความสาระบันเทิงที่มีอยู่มากมายบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การอ่านข่าวสารจากวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมตัวอย่างภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้อีกด้วย การค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการต่างๆ ก็ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้เช่นกัน รวมทั้งการสนทนาพูดคุยระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางเวบบอร์ดต่างๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก



4.ด้านการศึกษา


อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว มีแหล่งข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาลที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และอื่นๆ ทำให้นักเรียน ครูอาจารย์ รวมถึงผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า หรือการทำงานได้ ในส่วนระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้อินเทอร์เน็ต ก็ทำให้ผู้เรียนหรือผู้สอนที่อยู่ห่างไกลกัน ไม่จำเป็นต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสถานที่เดียวกัน ผู้สอนและผู้เรียน สามารถอยู่คนละสถานที่ ก็ยังสามารถทำการเรียนการสอนได้ เช่น การเรียนการสอนผ่านเวบ หรือ E-Learning เป็นอีกหนึ่งกระแสของการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังมาแรงในปัจจุบันนี้, ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ได้รับความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา มีเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ มากมายสำหรับนักเรียนและอาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน

 การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา


1. การใช้เครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อส่งรายงาน การบ้าน วิทยานิพนธ์ ในรูปแบบแฟ้มข้อมูล การเป็นสมาชิกกลุ่มสนทนาเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เผยแพร่ผลงานวิจัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านวิชาการ และแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวทางวิชาการ

2. การใช้เครือข่ายเพื่อการสืบค้นข้อมูลซึ่งผู้เรียน นักวิจัย และ ผู้สอนสามารถสืบค้นจากฐานข้อมูลทางการศึกษา และ Online Library Catalog ของห้องสมุดต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงในอินเทอร์เน็ตจากประเทศในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก

3. การใช้เครือข่ายเพื่อการสอน หรือการสอนทางไกลโดยผ่านเครือข่าย โดยเปิดเป็นหลักสูตรการสอนในระดับปริญญาและในแบบประกาศนียบัตร เรียกว่า Online Program ซึ่งผู้เรียนสามารถสมัครและเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนกิจกรรมการเรียนการสอน เอกสารและการติดต่อต่าง ๆ อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

4. การศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ในสังคมผู้สอนจะเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจและยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตนเอง การสอนให้ผู้เรียนยึดแต่วัฒนธรรมแบบเดิมจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้เป็นคนที่ไม่สามารถทำงานร่วมเป็นกลุ่มได้ ประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนคนอื่นที่มีภูมิหลังต่างจากตนเอง การสื่อสารทางไกลทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและความเคารพในวัฒนธรรมต่างแดนมากขึ้น

5. เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพที่เป็นจริง การเรียนในโรงเรียนจะได้ประโยชน์อย่างมากเมื่อได้จัดกิจกรรมให้สัมพันธ์กับแหล่งข้อมูล อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบเดิม แล้วพบว่าการสื่อสารทางไกลเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนให้กว้างขึ้น

6. การสอนแบบร่วมมือ (collaborative) ทำให้ผู้สอนมีความสามารถเพิ่มขึ้นเมื่อใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือผ่านเครือข่าย เช่น การออกแบบให้มีสภาพและการประชุมระหว่างผู้สอนเพื่ออภิปรายประเด็นอันหลากหลาย เช่น การบริหารโรงเรียนการประเมิน แนวทางการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ

ตัวอย่างในการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอน และการจัดการศึกษา

E-Learning  

 
ผู้เรียนสามารถทำการเข้ารหัสและสามารถเข้าใช้งาน  
โดยสามารถเลือกบทเรียนและสามารถส่งงานผ่านระบบได้


ผู้เรียนเลือกสาระรายวิชาที่ต้องการ



ผู้เรียนสามารถเข้าสู่บทเรียนที่ตนเองต้องการ


ผู้เรียนสามารถที่จะส่งงานและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้


ผู้เรียนสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางความคิดกับเพื่อนร่วมงานหรือครูผู้สอน 
ผ่านเว็บบอร์ด  และสามารถพูดคุยกับครูผู้สอนได้หากผู้เรียนเกิดข้อสงสัยที่เกี่ยวกับงาน


ครูผู้สอนสามารถทราบถึงรายละเอียดของผู้เรียน เช่น รายชื่อผู้เรียน , สถิติการมาเรียน ,ผลการเรียน 

        จะเห็นได้ว่าการนำเทคโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน  นั้นมีความสะดวกและสามารถที่จะจัดการสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาให้สอดคล้องกับผู้เรียน  โดยที่ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าศึกษาหาความรู้โดยที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา อีกทั้งยังกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อเสาะแสวงหาความรู้  แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเรียนการสอนในลักษณะนี้ก็มีผลเสียหากอุปกรณ์ที่ใช้หรือเทคโนโลยีเกิดขัดข้องซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถที่จะจัดการเรียนการสอนขึ้นได้




บรรณานุกรรม

Baldino, Eduardo N. (1997) Considerations on the impact of the internet on education.
Noam,Eli M. (1995). Electronics and the Dim Future of the University. In Science Volume 270
          (October, 1995) pp. 247-249.
Prowse, Michael. (1995). ENDANGERED SPECIES in America, 20 November 1995
          Financial Times.
Van Vught, F.A. (1997) Information Technology: The Next Step in the Development of Academic
          Institutions Presented at the 12 May 1997 NUFFIC Seminar on: Virtual Mobility:
          new Technologies and Internationalisation.
Van der Wende, Marijk. (1997) Virtual Mobility: New Technologies and Internationalisation. In
          Ninth Annual Conference of the European Association for International Education Boundaries
          and Bridges in International Education, 20-22 November 1997, Barcelona, Spain.

เว็บไซต์

http://www.nectec.or.th/users/htk/milestones-th.html
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/internet_thailand.html
http://www.krujongrak.com/internet/internet.html
http://pioneer.chula.ac.th/~awirote/ling/internetedu.htm
http://ningnalak.tumblr.com/internet
http://www.dek-d.com/board/view/1460805/
http://school.obec.go.th/borkruwitt/inter/internet_h.htm
http://www.nectec.or.th/courseware/internet/internet-tech/0001.html
http://www.computers.co.th/blog/?p=6
http://haas.berkeley.edu/~baldino/ba212/index.html 
 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น