วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แนวคิดเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือเกิดใหม่

ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้

ผู้เขียน
นายกฤตพล ประพันธ์ นางสาวณัฐธิดา ตาลอำไพ
นางสาวเพชราภรณ์ เฮมกลาง
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


แนวคิดของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
           สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ สรุปแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยเน้นเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

           ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning are active) ความสำคัญของการเรียนตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เป็นกระบวนการ ที่ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีมาก่อนหรือความรู้เดิมของผู้เรียน และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ แนวคิดที่หลากหลายเป็นสิ่งที่มีค่าและจำเป็น (Multiple perspective are valued and necessary) ตามแนวทางทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กล่าวว่า ผู้เรียนจะต้องสร้างแนวคิดของตนเอง แนวคิดนี้จำเป็นต้องประกอบด้วยแนวคิดที่หลากหลายและ กว้างขวาง อาจมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ เช่น ครู กลุ่มเพื่อน นักเขียน และหนังสือ เป็นต้น ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ส่งเสริมให้ผู้เรียนรวบรวมแนวคิดที่หลากหลายและสังเคราะห์สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดที่บูรณาการขึ้นมาใหม่   สร้างขึ้นแทนความรู้ภายในสมอง มาเป็นคำพูดที่ใช้ในการสนทนาที่แสดงออกมาภายนอกที่เป็นรูปธรรม และส่งเสริมการสังเคราะห์ความรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และการสร้างความหมายในการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้น สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่จัดให้มีการร่วมมือกันจะเป็นการส่งเสริมการสร้างความรู้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นจำเป็นต่อการเรียนรู้
 
  

การเรียนรู้ควรสนับสนุนการร่วมมือกันไม่ใช่การแข่งขัน (Learning should support collaboration , not competition) จากการแลกเปลี่ยนแนวคิดที่หลากหลายนั้นหมายถึงการร่วมมือ ในระหว่างที่มีการร่วมมือ ผู้เรียนต้องมีการสนทนากับคนอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเรียนรู้ กระบวนการนี้คือ การร่วมมือและแลกเปลี่ยน หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นการทำให้ผู้เรียนตกผลึกและกลั่นกรองสิ่งที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมตนเองตามระดับของผู้เรียน (Focuses control at the leaner level) ถ้าผู้เรียนลงมือกระทำในบริบท การเรียนรู้ โดยการร่วมมือกับผู้เรียนคนอื่น และผู้สอน และจำเป็นต้องควบคุมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าการที่เรียนในลักษณะที่เป็นผู้รับฟัง (Passive listening) จากการบรรยายของผู้สอน นี่แสดงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน 
นำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงหรือประสบการณ์การเรียนรู้ในชีวิตจริง (Provides authentic,real-world learning experiences) ความรู้ที่ถูกแยกออกจากบริบทในสภาพจริงในระหว่างการสอนสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สภาพจริงนั้น มักจะเป็น สิ่งที่ไม่มีความหมายต่อผู้เรียนมากนัก แต่สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม ที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆที่อยู่ในบริบทของสภาพจริง ดังนั้นประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ประยุกต์ไปสู่ปัญหาในชีวิตจริง (Real world problems)จะช่วยสร้างการเชื่อมโยงที่แข็งแกร่ง และส่งผลให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนไปสู่สถานการณ์ใหม่ในสภาพชีวิตจริงได้

แนวคิดของเครื่องมือทางปัญญา (Cognitive tools)
     ความหมายของเครื่องมือทางปัญญา
          เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในการศึกษาหลากหลายวิธีโดยเฉพาะการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใชป็นสื่อการเรียนการสอนซึ่งถือได่ามีบทบาทอยางมากในปัจจุบันเมื่อเทียบกับสื่อชนิดอื่นทั้งหมด หากพิจารณาตามการใช้งานของผู้เรียนแลว เราสามารถแบ่งลักษณะของการใช้คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอนไดเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ ๑ การเรียนจากคอมพิวเตอร์(Learning from Computer) ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมที่มีมานาน โดยไดรับอิทธิพลมาจากทฤษฎีการเรียนรูกลุ่มพฤติกรรมนิยม ผู้เรียนจะเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเนื้อหาแทนหรือเสริมครูผู้สอน สื่อในรูปแบบนี้ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือสื่อประกอบการบรรยาย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เลิร์นนิ่งออบเจ็ค(Learning Object) ซึ่งออกแบบวิธีการนำเสนอเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับการถ่ายทอดจากครูผู้สอนในห้องเรียน
           รูปแบบที่ ๒ การเรียนกับคอมพิวเตอร์(Learning with Computer) เป็นแนวคิดใหม่ที่เริ่มใช้กันอย่างแพรหลายในต่างประเทศ ซึ่งไดรับอิทธิพลจากทฤษฎีการเรียนรูกลุ่มพุทธิปัญญานิยมและกลุ่มคอนสตรัคติวิสมคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนของผู้เรียน โดยทำหนที่เป็นเครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ เขาถึง และตีความข้อมูล รวมทั้งจัดระบบโครงสร้างความรูของผู้เรียน ลักษณะเช่นนี้คอมพิวเตอร์จะกลายเป็น เครื่องมือทางปัญญาที่จะช่วยกระบวนการคิดของผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียน นักการศึกษากล่าวว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้โดยผู้เรียนเพื่ออธิบายสิ่งที่พวกเขารู กระบวนการนี้จะทำให้พวกเขาเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และการเรียนรูระดับสูง (Higher-order Learning) ในสิ่งที่พวกเขากำลังศึกษา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เครื่องมือเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขารูและเรียนรูในวิธีที่มีความหมายและแตกต่างออกไป (Jonassen, Carr and Yueh, 1998; Reeves,1999)

เครื่องมือทางปัญญาไมไดหมายถึงคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวแต่ยังรวมถึงแนวคิดและวิธีการอื่นที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการคิดของผู้ที่ใช้ดังเช่น
Jonassen and Reeves (1996) ให้ความหมายว่า เครื่องมือทางปัญญาคือเทคโนโลยีใดก็ตามที่ช่วยพัฒนาพลังทางปัญญา (Cognitive Powers) ของผู้เรียนในการคิดการแกปัญหาและการเรียนรู
Shim and Li (2006) กล่าวว่า เครื่องมือทางปัญญาคือเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์และสภาพแวดล้อมทางการเรียนรูที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เสมือนผู้ร่วมงานทางปัญญาของผู้เรียนเพื่อที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมและอำนวยความสะดวกการเรียนรูอย่างมีความหมาย
ใจทิพย์ ณ สงขลา (๒๕๕๐) ให้ความหมายว่า เครื่องมือทางปัญญาเป็นทั้งความคิดและเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยขยายต่อเติมหรือจัดองค์ประกอบความรูใหม่ ช่วยให้ผู้เรียนก้าวพ้นขอบจำกัดของความคิด และช่วยสนับสนุนการรื้อโครงสร้างวิธีการคิดของผู้เรียนไดใหม่ รวมทั้งช่วยสนับสนุนกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนด้วยจัดการงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อแทนผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีอิสระและเวลามากพอที่จะมุ่งกับความคิดขั้นสูง ช่วยผู้เรียนในการสร้างสมมุติฐานและทดสอบในบริบทของการแกปัญหา
จากนิยามที่กล่าว การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางปัญญา จึงหมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้หรือพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับผู้เรียนในสภาพแวดล้อมการเรียนรูที่ส่งเสริมและสนับสนุกระบวนการทางปัญญาหรือการคิดระดับสูง โดยเครื่องมือดังจะมาช่วยลดข้อจำกัดทางความคิดของผูเรียน ช่วยขยายและต่อเติมกรอบความคิด รวมทั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างวิธีการคิดให้กับผู้เรียนกรอบแนวคิดสำคัญของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางปัญญา

เครื่องมือทางปัญญาเป็นการนำสมรรถนะของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเอื้ออานวยกระบวนการประมวลสารสนเทศของผู้เรียน พื้นฐานที่สำคัญของการออกแบบเครื่องมือทางปัญญามาจากการศึกษาของ Hanafin (1999) ที่ได้เสนอเครื่องมือทางปัญญาสาหรับการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ กรอบแนวคิดของการออกแบบเครื่องมือทางปัญญาอาศัยพื้นฐานมาจากทฤษฎีประมวลสารสนเทศและทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญาที่สำคัญ ดังเช่น ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา ทฤษฎี Cognitive load และทฤษฎีเมนทอลโมเดล สำหรับกรอบแนวคิดของเครื่องมือทางปัญญาจะแสดงในภาพที่ 1


แสดงโมเดลการประมวลสารสนเทศและการจำแนกหน้าที่ของเครื่องมือทางปัญญา
(Iiyoshi & Hannafin, 1998)




แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และตัวอย่างเครื่องมือทางปัญญา
ที่มาอิศรา ก้านจักร (2551)

เทคโนโลยีและเครื่องมือเกิดใหม่ ในฐานะเป็นเครื่องมือทางปัญญา




Google Apps For Education คืออะไร
        Google AppsFor Education หรือ Google App สำหรับการศึกษา คือ ชุดของฟรีอีเมล์จาก Google

และเครื่องมือต่างๆ เป็นแบบระบบเปิดในการทำงานร่วมกัน เปิดกว้างหรับคุณครูเรียนและนักศึกษา สมาชิกทั่วโลก ตัวอย่างเครื่องมือที่เป็นที่นิยมใช้ที่ท่านรู้จักดี เช่น อีเมล์(Gmail), เอกสาร (Docs), ปฏิทิน (Calendar) และ Groups เป็นต้น แต่เครื่องมือเหล่านี้จะใช้สำ หรับในการเรียนการศึกษา เป็นโปรแกรมที่ Google พัฒนาให้แก่โรงเรียนใช้งาน เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีต่อการเรียนการสอนและการน าอินเตอร์เน็ตไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์โดยโปรแกรมประกอบไปด้วย Communication:โปรแกรมการสื่อสารภายในและภายนอกโรงเรียน Collaboration: โปรแกรมออฟฟิศสำหรับการแชร์และทำงานร่วมกันออนไลน์ Content: โปรแกรมสร้างเว็บไซต์ออนไลน์

G-mail

        Google Apps ให้พื้นที่เก็บข้อมูลขนาดไม่เกิน 30 GB ต่อผู้ใช้หนึ่งราย การกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพ และ SLA ความพร้อมในการทำงาน 99.9% ทั้งหมดนี้โฮสต์โดย Google ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีโฆษณาสำหรับนักเรียน คณาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ทำงานเร็ว ประหยัดเวลา Gmail ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พื้นที่เก็บข้อมูลขนาด 30GB หมายความว่า คุณไม่ต้องคอยมาลบข้อมูล ส่วนการค้นหาที่มีประสิทธิภาพหมายถึง ทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้ ป้ายกำกับและตัวกรองช่วยให้ข้อมูลผู้ใช้ของคุณมีระเบียบ Gmail มีการขับเคลื่อนโดยเว็บอย่างปลอดภัย ดังนั้น นักเรียนและคณาจารย์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
        กล่องจดหมายไม่ใช่เรื่องของข้อความเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของผู้คนด้วย ข้อความ เสียง และวิดีโอแชทจะช่วยให้นักเรียนและอาจารย์สามารถดูได้ว่าใครออนไลน์อยู่และติดต่อได้ทันที ถ้าไม่ต้องการให้นักเรียนใช้การแชท ถ้าต้องการจำกัดคนที่สามารถส่งอีเมลถึง ทั้งหมดนี้อยู่ในการควบคุมของผู้ดูแลระบบ

ปฏิทิน
ช่วยนักเรียนและคณาจารย์จัดการเวลาของตน

วางปฏิทินหลายรายการซ้อนกันเพื่อดูว่าใครจะว่างเมื่อใด ตัวอย่างเช่น เป็นวิธีที่ดีในการจัดการกำหนดการของเจ้าหน้าที่ Google ปฏิทินจะส่งข้อความเชิญและจัดการการตอบรับ
ผสานรวมกับอีเมลของโรงเรียน
มีการผสานรวม Google ปฏิทิน เข้ากับ Gmail และทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันปฏิทินที่ได้รับความนิยม
แบ่งปันกับชั้นเรียน ทีม และสโมสร
สามารถแบ่งปันปฏิทินได้ทั้งโรงเรียนหรือกับเพื่อนร่วมงานที่เลือก การควบคุมสิทธิ์การแบ่งปันมากมายจะช่วยรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

ไดรฟ์


เข้าถึงไฟล์จากที่ใดก็ได้
Google ไดรฟ์บน Mac, คอมพิวเตอร์พีซี, แอนดรอยด์ หรืออุปกรณ์ iOS จะทำให้คุณมีพื้นที่เดียวสำหรับไฟล์ฉบับปัจจุบันจากทุกที่  
แบ่งปันไฟล์เดียวหรือทั้งโฟลเดอร์กับบุคคลที่กำหนดหรือทีมงานทั้งหมดหรือกระทั่งพนักงานชั่วคราว พันธมิตร และผู้ที่มีสิทธิ์ สร้างและตอบกลับความคิดเห็นในไฟล์เพื่อรับข้อเสนอแแนะและเพิ่มแนวคิดใหม่ๆ


เอกสาร

สร้างเอกสารที่มีรูปแบบสมบูรณ์ พร้อมด้วยภาพ ตาราง สมการ ภาพวาด ลิงก์ และอื่นๆ รวบรวมข้อมูลและจัดการข้อเสนอแนะด้วยการแสดงความคิดเห็นเชิงสังคม

สเปรดชีต
เก็บและแบ่งปันรายการ ติดตามโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามผลลัพธ์ด้วยเครื่องมือแก้ไขสเปรดชีตที่มีประสิทธิภาพของเรา ใช้เครื่องมือเช่น สูตรขั้นสูง แผนภูมิในตัว ตัวกรองและตารางเปลี่ยนแกนเพื่อดูข้อมูลของคุณในมุมมองใหม่ๆ

งานนำเสนอ
สร้างสไลด์ที่สวยงามด้วยเครื่องมือแก้ไขงานนำเสนอ ซึ่งสนับสนุนสิ่งต่างๆ เช่น การฝังวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนสไลด์แบบไดนามิก เผยแพร่งานนำเสนอของคุณทางเว็บ เพื่อให้ทุกคนสามารถดู หรือแบ่งปันงานนำเสนอแบบส่วนตัวได้

Sites

สร้างไซต์ของโครงการที่กำหนดเองที่ประกอบด้วยวิดีโอ ปฏิทิน เอกสาร และอื่นๆ
 เหมาะสำหรับพอร์ตโฟลิโออิเล็กทรอนิกส์!

สร้างง่าย
นักเรียนสามารถสร้างเว็บไซต์ของโครงการได้โดยไม่ต้องเขียนรหัสแม้สักบรรทัดเดียว ง่ายเหมือนเขียนเอกสาร และเพื่อให้ประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น คุณสามารถจัดเตรียมเทมเพลตที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้นับร้อยรายการให้กับนักเรียน
การควบคุมการรักษาความปลอดภัยของระบบและระดับเว็บไซต์
ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการสิทธิ์การแบ่งปันไซต์ให้กับทั้งโรงเรียน และผู้เขียนสามารถแบ่งปันและยกเลิกการเข้าถึงไฟล์เมื่อใดก็ได้
ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการ
Google Sites ทำงานในเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์พีซี, Mac และ Linux อาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครองไม่ต้องซื้อหรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์


อ้างอิง
สุมาลี ชัยเจริญ และอิสรา กานจักร. เทคโนโลยีการศึกษา: จากเทคโนโลยีเพื่อการถายทอดมา
               สูเทคโนโลยีทางปญญา. วารสารเทคโนโลยีทางปญญา. ปที่ 1 ฉบับที่ 1
               (มกราคม-มิถุนายน) ๒๕๔๙
Jonassen D. H., & Reeves, T. C. (1996). Learning with technology: Using computers as
               cognitive tools. In D.H. Jonassen (Ed.), Handbook of research for educational
               communications and technology (pp. 693-719). NY: Macmillan.
Jonassen, D. H., Carr, C. & Yueh, H. P. (1998). Computers as mindtools for engaging learners in
                critical thinking. Tech Trends, 43(2), 24-32.
Iiyoshi, T. & Hannafin, M. (1996). Cognitive tool for learning from hypermedia: Empowering
               learners. Paper presented at the annual meeting of the Association for Educational
               Communications and Technology, Indianapolis, IN, February 14-18.

เว็บไซต์
https://noppakornru.files.wordpress.com/2012/09/google-apps-for-education.pdf
http://www.google.co.th/intx/th/work/apps/education/products.html#sites
http://www.youtube.com/watch?v=IuAFQJPag-8#t=36



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น