วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การประยุกต์ซอฟแวร์ สำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน 

ผู้เรียนและเนื้อหา
ผู้เขียน
นายกฤตพล ประพันธ์ นางสาวณัฐธิดา ตาลอำไพ
นางสาวเพชราภรณ์ เฮมกลาง
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ซอฟแวร์ใหม่ทางการศึกษา  edmodo

       สัญลักษณ์                                                        รูปแบบการใช้งาน                                       

         เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับ ผู้สอน ผู้เรียน สถาบันต่างๆ ที่มีระบบกลุ่มเรียน ระบบติดตามงาน ตลอดจนระบบติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มเรียน โดยที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสาร แบ่งปันเนื้อหา จัดการบ้าน และภาระงาน ผ่านเครื่องมือภายในโปรแกรมโดยง่ายดายและรวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไปจัดการกลุ่มเรียนได้ทั้งผ่านทางคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ทุกที่ ทุกเวลา
         เป้าหมายสำคัญของ Edmodo คือ การใช้ประสิทธิภาพของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อช่วยให้
นักการศึกษาจัดการห้องเรียนและจัดการนักเรียนทุกคนได้
Edmodo ใช้ทำอะไรได้บ้างนะ? โปรแกรมนี้ใช้ในการติดต่อสื่อสารทำงานร่วมกัน แบ่งปันเนื้อหา เช็คคะแนนเกรด และประกาศข่าวต่ำงๆเฉพาะกลุ่มตามที่เราได้ตั้ง
ใครเป็นผู้ใช้งาน Edmodo ได้บ้าง? ระหว่างครู นักเรียน ผู้สอน ผู้เรียน ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ประเภทผู้ใช้งาน ของ Edmodo จะประกอบด้วย
i’m a Teacher สำหรับคุณครู
I’m a Student สำหรับนักเรียน
i’m a parent สำหรับผู้ปกครอง
School & Districts ผู้ดูแลระบบของ โรงเรียน หรือของภูมิภาค
มีแหล่งเรียนรู้ศึกษาคู่มือได้จากที่ไหนบ้าง หรือแหล่งอ้างอิงและศึกษาได้จากไหน ? ที่เว็บไซต์ของ Edmodo.com            มีคู่มือการใช้โดยละเอียดให้ดาวน์โหลด
 http://help.edmodo.com/ ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับครูและนักเรียน
http://help.edmodo.com/school-district/ สำหรับคู่มือของโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา
อุปกรณ์และระบบปฏิบัติการที่รองรับ Edmodo สามารถทำงานกับอุปกรณ์ได้หลายอย่าง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป, โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือแม้แต่สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการที่รองรับ ได้แก่ Window XP, Vita , 7 , 8 , Mac OS, ios, Android และอื่นๆ ที่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ต (web browser) ได้เป็นสำคัญ
         การสมัครเป็นผู้เรียน
                ขั้นตอนที่ 1: เข้าไปที่เว็บไซต์ 
http://www.edmodo.com หลังจากนั้นให้เลือกในส่วนของผู้เรียนโดยเลือกที่ปุ่ม I’m a Student 

                ขั้นตอนที่ 2 : หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าจอบนเว็บไซต์ชื่อ Student Sign up แล้วทำการกรอกข้อมูลตามรายละเอียดให้ครบทุกช่อง โดยมีรายละเอียดข้อมูลดังนี้ 
Group Code คือ รหัสประจำกลุ่มเรียน
Username คือ ชื่อที่ใช้การเข้าสู่ระบบ
Password คือ รหัสที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบ
Email (optional) คือ อีเมล์ที่ใช้ในการติดต่อ
First Name คือ ชื่อที่ใช้เรียกในระบบ
Last Name คือ นามสกุลที่ใช้เรียกในระบบ 
                อย่าลืม กดทำเครื่องหมายถูกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำว่า You and your parent agree to our TOS and our Privacy Policy.
                ขั้นตอนที่ 3 : เมื่อพิมพ์ข้อมูลจนครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม Sign up เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัคร

        การสมัครเป็นครูผู้สอน
                  ขั้นตอนที่ 1: เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.edmodo.com หลังจากนั้นให้เลือกในส่วนของครูผู้สอนโดยเลือกที่ปุ่ม I’m a Teacher

                   ขั้นตอนที่ 2 : หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าจอบนเว็บไซต์ชื่อ Teacher Sign up แล้วทำการกรอกข้อมูลตามรายละเอียดให้ครบทุกช่อง โดยมีรายละเอียดข้อมูลดังนี้
- Title คือ คำนำหน้า มีให้เลือก 4 อย่างคือ Mr. , Mrs. , Ms. , Dr.


                   ขั้นตอนที่ 3 : หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าจอบนเว็บไซต์ชื่อ Teacher Sign up แล้วทำการกรอกข้อมูลตามรายละเอียดให้ครบทุกช่อง โดยมีรายละเอียดข้อมูลดังนี้
First Name คือ ชื่อที่ใช้เรียกในระบบ
Last Name คือ นามสกุลที่ใช้เรียกในระบบ
Email คือ อีเมล์ที่ใช้ในการติดต่อ
Password คือ รหัสที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบ
                    อย่าลืม กดทำเครื่องหมายถูกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำว่า You agree to our TOS and our Privacy Policy.


                    ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว ให้กดปุ่ม Sign Up เพื่อส่งข้อมูลการสมัคร เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัคร


คุณสมบัติเด่นที่สามารถใช้ในการเรียนการสอน
          “การใช้ประสิทธิภาพของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อช่วยให้นักการศึกษาสามารถจัดการห้องเรียนและจัดการนักเรียนทุกคนได้”
การส่งข้อความโต้ตอบ/สอนถามผู้สอน
วิธีส่งงาน การบ้าน ไฟล์งานต่างๆ ที่ผู้สอนมอบหมาย
การทำแบบทดสอบหรือการสอบออนไลน์ของผู้เรียน
การแจ้งข้อความเข้าสู่ห้องเรียน (Note)
การสั่งงาน ใบงาน และการบ้าน (Assignment)
การสร้างข้อสอบ / แบบทดสอบ (Quiz)
การสร้างแบบทดสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choice)
การสร้างแบบทดสอบแบบแบบถูก-ผิด (True-False)
 ข้อความสั้น (Short Answer)
แบบเติมคำในช่องว่าง (Fill in the Blank)
แบบจับคู่ (Matching)
          การสั่งงาน ใบงาน และการบ้าน (Assignment)
Assignment เป็นเหมือนช่องทางสั่งงาน ใบงาน สั่งแบบฝึกหัด หรือการบ้านแก่ผู้เรียน
โดยแจ้งเป็นข้อความรายละเอียด คำอธิบายลักษณะงาน มีช่องทางสำหรับส่งงานของผู้เรียน
สามารถกำหนดวันเวลาสิ้นสุดการส่งงาน/การบ้านได้โดยระบบสามารถรับส่งงานทุกประเภทไฟล์
ที่เป็นไฟล์ดิจิตอล ไม่ว่าเป็น ไฟล์ภาพถ่าย ไฟล์เอกสาร ไฟล์เสียง ไฟล์วีดีโอ ไฟล์บีบอัด โดยมี
ขั้นตอนดังนี้


1. คลิ้กแท็บ Assignment
2. พิมพ์หัวข้องาน หรือการบ้าน
3. พิมพ์รายละเอียดหรือคำอธิบายงาน
4. คลิกปฏิทิน
5.กำหนดวันสิ้นสุดส่งงาน/การบ้าน
6. แนบไฟล์ตัวอย่าง (ถ้ามี)
7. แทรกลิงค์ / เว็บไซต์อ้างอิง /ตัวอย่าง (ถ้ามี)
8. แทรกลิงค์ไปห้องสมุดใน Edmodo (ถ้ามี)
9. กำหนดเวลาที่สิ้นสุดการรับงาน / การบ้าน (หากไม่กำหนด จะสิ้นสิ้น เวลา 0.00 น.) เมื่อทุก
ขั้นตอนเสร็จสมบูรณ์จะปรากฏหน้าต่าง ดังภาพต่อไปนี้


การบ้านพร้อมรายละเอียด และวันสิ้นสุดส่งงาน จะถูกส่งไปยังผู้เรียนทุกคนในกลุ่ม โดย ผู้เรียนสามารถสอบถามเพิ่มเติม โดยคลิ้ก Reply ใต้กรอบข้อความ แล้วพิมพ์ข้อความ และกดปุ่ม Send หรือส่งงานที่สมบูรณ์แล้วโดยคลิกที่ปุ่ม Turned in
             การสร้างข้อสอบ / แบบทดสอบ (Quiz)
Quiz ทำหน้าที่เป็นเหมือนห้องปฏิบัติการสอบ สามารถสร้างแบบทดสอบมีฟังก์ชั่นในการ
คำนวณ/ให้คะแนน จัดทำสถิติผลคะแนน สถิติคุณภาพข้อสอบแต่ละข้อ โดยแสดงเป็นร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ในรูปของแผนภูมิและตัวเลข โดยแบบทดสอบสามารถสร้างใน Edmodo ได้แก่
เลือกตอบ (Multiple choice)
แบบถูก-ผิด (True-False)
ข้อความสั้น (Short Answer)
แบบเติมคำในช่องว่าง (Fill in the Blank)
แบบจับคู่ (Matching)
             การส่งข้อความโต้ตอบ/สอนถามผู้สอน


1. คลิ้กที่ Reply ใต้ข้อความ
2. พิมพ์ข้อความ ใน Textbox
3. กดปุ่ม Reply ข้อความจะถูกโพสต่อจากข้อความที่ผู้สอนแจ้ง ดังภาพต่อไปนี้


การทำแบบทดสอบหรือการสอบออนไลน์ของผู้เรียน
หลังจากผู้สอนได้สร้างแบบทดสอบหรือข้อสอบในแท็บ Assignment โดยกำหนดรูปแบบ
และจำนวนพร้อมทั้งระบุกลุ่ม/ห้องเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและเข้าทำ
แบบทดสอบ/หรือข้อสอบ
การแจ้งขอความเข้าสู่ห้องเรียน(Note)
Note เป็นการจำลองข้อความเข้าสู่ห้องเรียน คล้ายกับครูเขียนข้อความแจ้งนักเรียนใน
กระดานดำ นักเรียนที่ Login เข้าสู่ห้องเรียน หรือกลุ่มเรียนทุกคน จะมองเห็นข้อความนี้ทุกคน
และสามารถโพสข้อความโต้ตอบครูผู้สอนได้
การแจ้งเตือน (Alert)
          Alert ทำหน้าที่เหมือนการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปสู่ผู้เรียน เพื่อแจ้งเตือนข่าวสารต่างๆ
สามารถส่งไปยังนักเรียนทุกคน หรือเลือกส่งให้บางคนก็ได้โดยสามารถกำหนดช่วงเวลาในการ
แสดงข้อความนั้นได้

แนวทางการประยุกต์ใช้ซอฟแวร์ใหม่ทางการศึกษา ในการเรียนการสอน
      ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา
              ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการใช้งานด้านการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน  ผู้สอนอาจจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่หลากหลายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการสร้างบทเรียน  การนำเสนอบทเรียน  การจัดเก็บข้อมูล  หรือการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา จัดแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้  1. ซอฟต์แวร์ระบบ  2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
                     คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานได้หากปราศจากคำสั่ง  ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว  ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
              ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง  เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
               ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ


                       การนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นนวัตกรรมในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียนนักศึกษา ด้วยลักษณะของเทคโนโลยีที่สามารถรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลาและตลอดชีวิต
                       ดังนั้นหากจะประยุกต์ใช้ซอฟแวร์ใหม่ทางการศึกษาและในการเรียนการสอนการสอนนั้นต้องประกอบไปด้วย
                             1.ครูผู้สอน ต้องมีความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้เรียนหากผู้เรียนมีปัญหาในด้านการเข้าใช้งาน  อีกทั้งเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้เป็นบทเรียนและแหล่งเป็นแหล่งแสวงหาคำตอบ
                             2.เทคโนโลยี internet เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนประกอบหลักและเป็นช่องทางที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถปฏิสัมพันธ์กันผ่านเครือข่าย ผู้เรียนสามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่โดยไม่มีข้อจำกัดหากพื้นที่นั้นมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                             3.ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการใช้งานด้านการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน  ผู้สอนอาจจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่หลากหลายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการสร้างบทเรียน  การนำเสนอบทเรียน  การจัดเก็บข้อมูล  หรือการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ
                             4.ผู้เรียน ต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ครูผู้สอนนำมาใช้จัดการเรียนการสอน ซึ่งในอดีตผู้เรียนเป็นเพียงแค่ผู้รับข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้นแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น บริบทของผู้เรียนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป  ผู้เรียนสามารถที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาทในการจัดการและมีส่วนร่วมเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน


กรณีตัวอย่างในการประยุกต์ใช้ซอฟแวร์ใหม่ทางการศึกษา ในการเรียนการสอน






วิจัยที่อ้างอิง 
>>http://pirun.ku.ac.th/~fedundl/upload/5210602451-2556-2-2.pdf
>>http://www.comedlpru.com/MIS/index.php?name=research&file=readresearch&dept=3&id=4
>>http://www.edulpru.com/eu/quality_assurance/km-2556.pdf
>>http://library.cmu.ac.th/faculty/econ/Exer751409/2555/Exer2555_no139 
เอกสารอ้างอิง >>http://qacps.schoolwires.net/cms/lib02/MD01001006/Centricity/Domain/128/Edmodo_Teacher_Guide.pdf
>>http://www.satrinon.ac.th/edweb/edweb/edmodo.pdf
>> http://www.dmj.ac.th/phoori/file/edmodo.pdf
>>https://www.gotoknow.org/posts/570615 
>> http://www.satrinon.ac.th/edweb/edweb/index.html
>> http://www.satrinon.ac.th/edweb/edweb/edmodo.pdf
>> http://www.pwschool.ac.th/files/1105031111214912/files/emodo.pdf [ เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ ชุมชนออนไลน์สร้างสรรค์กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วย Edmodo.com เรียบเรียงโดย ครูวันดี กุมภาพันธ์ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์]
>> https://sites.google.com/site/likitsites/edmodo
>> https://teemtaro.wordpress.com/tag/edmodo/










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น